Cover4.jpg

วัด

วัด จํานวน 9 แห่ง ได้แก่


(1) วัดกะพังสุรินทร์

          พระอารามหลวงชั้นตรีเดิมชื่อวัดกะพัง

          ตั้งอยู่เลขที่ 28 ถนนเวียนกะพัง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่่ชายเนินเตี้ย ลาดเอียงจากทิศเหนือไปสู่ทุ่งนา ทางทิศใต้ ได้ปรับปรุงให้เป็นที่ราบ

อาณาเขต

          ทิศเหนือยาว 290 เมตร ติดต่อกับถนนและที่มีการครอบครอง

          ทิศใต้ยาว 320 เมตร ติดต่อกับที่มีการครอบครอง

          ทิศตะวันออกยาว 225 เมตร ติดต่อกับที่มีการครอบครอง

          ทิศตะวันตกยาว 225 เมตร ติดต่อกับถนนเวียนกะพัง

ทรัพย์สิน

          มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 24 ไร่ 3 งาน 84.2 ตารางวา โฉนดเลขที่ 11173 , 10328 น.ส.3 เลขที่ 468/2499

ความเป็นมา
          วัดกะพังสุรินทร์ สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2440 เดิมมีนามว่า “วัดกะพัง” โดยมีเจ้าเส บริจาคที่ดินให้เป็นที่สร้างวัด มีหนองน้ำใหญ่อยู่เรียกว่า “สระกะพัง” ต่อมาสมัยพระยาสุรินทร์ราชา เป็นสมุหเทศาภิบาล ได้พัฒนาสระกะพังให้เป็นที่พักผ่อน ประชาชนจึงได้เรียกว่า “สระกะพังสุรินทร์” และนามวัด ก็ได้เปลี่ยนเป็น “วัดกะพังสุรินทร์” ตามไปด้วย เมื่อ พ.ศ.2483 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2480 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 24 เมตร ยาว 36 เมตร ได้ผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 เปิดสอนพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2499 ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2547
          เจ้าอาวาสรูปแรก คือ พระครูวิเชียร
          เจ้าอาวาสปัจจุบัน คือ พระพรหมจริยาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ) ซึ่งยังมีตำแหน่ง เป็น เจ้าคณะใหญ่หนใต้ อีกด้วย



(2) วัดกุฎยาราม

           ตั้งอยู่เลขที่ 30 ถนนเพลินพิทักษ์ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ สภาพแวดล้อมมีถนนหนทาง อาคารบ้านเรือนและย่านการค้าของประชาชนโดยรอบ โดยส่วนกลางของพื้นที่เป็นที่ตั้ง อุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอระฆัง ด้านทิศเหนือมีหอฉัน ศาลาอเนกประสงค์และกุฏิเจ้าอาวาสส่วนทิศตะวันออกเป็นเขตสังฆาวาส มีกุฏิพระภิกษุสามเณร ทิศใต้ติดกับถนนเพลินพิทักษ์มีกำแพงและซุ้มประตูเมรุ ฌาปนสถานตั้งอยู่ทางทิศเหนือ

อาณาเขต
          ทิศเหนือ ยาว 3 เส้น 4 วา ติดต่อกับที่มีการครอบครอง
          ทิศใต้ ยาว 3 เส้น 11 วา ติดต่อกับถนนเพลินพิทักษ์
          ทิศตะวันออก ยาว 3 เส้น 9 วา ติดต่อกับที่มีการครอบครองและถนนเพลินพิทักษ์ 12
          ทิศตะวันตก ยาว 2 เส้น 15 วา ติดต่อกับคลองห้วยยาง

ทรัพย์สิน
          มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 8 ไร่ 46 ตารางวา มีหนังสือส าคัญแสดงกรรมสิทธิ์ คือ โฉนดที่ดินเลขที่ 11835 ออกเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ที่ธรณีสงฆ์ 1 แปลง เนื้อที่ 1 งาน 12 ตารางวา ตั้งอยู่ที่ ถนนเพลินพิทักษ์ ซอย 12 ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ คือ โฉนดที่ดินเลขที่ 11434 เล่ม 115 หน้า 35 ออกเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2519

ความเป็นมา
          วัดกุฏยาราม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2481 โดยมีอุบาสิกาแป้น บุญเจริญ บริจาคที่ดิน ถวายแด่พระอธิการสังข์ อินฺทสุวณฺโณ ให้เป็นที่สร้างวัด เนื่องจาก พระอธิการสังข์ อินฺทสุวณฺโณ ซึ่งอุปสมบทจำพรรษาอยู่ที่วัดนิโครธาราม (วัดกุฏิใน) ห่างออกไปประมาณ 1 กิโลเมตร ได้มาสร้างกุฏิในที่ดินที่ตั้งวัดกุฏยาราม และมาพำนักอยู่ตามลำพังเพื่อความวิเวก ชาวบ้านเรียก “กุฏิพ่อแก่สังข์” ต่อมา นางแป้น บุญเจริญ เจ้าของครอบครองที่ดินอยู่ก่อนมีจิตศรัทธายกที่ดินให้ พระอธิการสังข์ อินฺทสุวณฺโณ จึงมีการปรับปรุงบำรุงสร้างกุฏิที่พักสงฆ์ขึ้น เปลี่ยนจากสำนักสงฆ์เป็นวัด ชาวบ้านเรียกว่า “วัดกุฏิ” เมื่อมีการขึ้นทะเบียนเป็นวัดต่อทางการ จึงชื่อ “วัดกุฏยาราม” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร เปิดสอนพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ พระอธิการสังข์อินฺทสุวณฺโณ ได้สร้างโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในบริเวณวัดกุฎยาราม (โรงเรียนเทศบาล 1 สังขวิทย์ ในปัจจุบัน)
          เจ้าอาวาสรูปแรก คือ พระอธิการสังข์ อินฺทสุวณฺโณ
          เจ้าอาวาสปัจจุบัน คือ พระปลัดสิรภพ ปิยสีโล (เลขาเจ้าคณะตำบลนาตาล่วง)


 
(3) วัดคลองน้ําเจ็ด

          ตั้งอยู่เลขที่ 63 บ้านคลองน้ำเจ็ด ถนนบางรัก-ควนขัน ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม สภาพแวดล้อมมีคลองคู ถนนและทางสาธารณะโดยรอบบริเวณที่ตั้งวัด

อาณาเขต
          ทิศเหนือยาว 87 เมตร ติดต่อกับถนนสายบางรักถึงควนขัน
          ทิศใต้ ยาว 91 เมตร ติดต่อกับคูน้ำสาธารณะ
          ทิศตะวันออก ยาว 127 เมตร ติดต่อกับทางสาธารณะ
          ทิศตะวันตก ยาว 103 เมตร ติดต่อกับคลองน้ำเจ็ด มีที่ธรณีสงฆ์ 1 แปลง

ทรัพย์สิน
          มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 7 ไร่ 3.6 ตารางวา โฉนดเลขที่ 11156 และ มีที่ธรณีสงฆ์ 1 แปลง เนื้อที่ 3 งาน 37.1 ตารางวา โฉนดเลขที่ 11157

ความเป็นมา
          วัดคลองน้ำเจ็ด สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2320 ในสมัยกรุงธนบุรี โดยมีพระขาว เป็นผู้มาอยู่นำสร้างและปกครองวัดเป็นรูปแรก ได้ขนานนามตามชื่อบ้านมาแต่เดิม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2450 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 84 เมตร ยาว 127 เมตร ในด้านการศึกษาได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2500
          เจ้าอาวาสรูปแรก คือ พระขาว
          เจ้าอาวาสปัจจุบัน คือ พระครูธรรมจักรศีลคุณ (รักษาการ เจ้าคณะอำเภอปะเหลียน)



(4) วัดควนขัน

          ตั้งอยู่เลขที่ 8 บ้านควนขัน ถนนนางน้อย ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ สภาพแวดล้อมทั่วไปมีถนนและบ้านเรือนของประชาชนโดยรอบบริเวณที่ตั้งวัด

อาณาเขต
          ทิศเหนือ ยาว 4 เส้น ติดต่อกับถนนหลวง
          ทิศใต้ ยาว 1 เส้น 17 วา ติดต่อกับที่มีการครอบครอง

          ทิศตะวันออก ยาว 5 เส้น 3 วา ติดต่อกับที่มีการครอบครอง
          ทิศตะวันตก ยาว 5 เส้น 6 วา ติดต่อกับถนนหลวง และที่มีการครอบครอง

ทรัพย์สิน
          มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ 15 ไร่ 1 งาน 6 ตารางวา ส.ค. 1 เลขที่ 258 และ ที่ธรณีสงฆ์ 1 แปลง เนื้อที่ 1 ไร่ 20 ตารางวา ส.ค. 1 เลขที่ 251

ความเป็นมา
          วัดควนขันสร้างเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2255 ชาวบ้านเรียกนามว่า “วัดควนขัน” ตามชื่อบ้านมา แต่เดิม ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 16 เมตร
ยาว 23 เมตร
          เจ้าอาวาสรูปแรก คือ ท่านบัวศรี
          เจ้าอาวาสปัจจุบัน คือ พระมหานุกูล นารโท



(5) วัดควนวิเศษ

          ตั้งอยู่เลขที่ 156 ถนนวิเศษกุล ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง พื้นที่ตั้งวัดเป็นเนินสูง สภาพแวดล้อมมีบ้านเรือนประชาชนและถนนอยู่ทางด้านทิศตะวันออก เป็นทางคมนาคมสะดวก

อาณาเขต
          ทิศเหนือ ยาว 200 เมตร ติดต่อกับที่ดินมีการครอบครอง
          ทิศใต้ ยาว 150 เมตร ติดต่อกับที่ดินมีการครอบครอง

          ทิศตะวันออก ยาว 130 เมตร ติดต่อกับถนนวิเศษกุล
          ทิศตะวันตก ยาว 130 เมตร ติดต่อกับที่ดินมีการครอบครอง

ทรัพย์สิน
          มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ 20 ไร่ 1 งาน โฉนดเลขที่ 15

ความเป็นมา

          วัดควนวิเศษ สร้างขึ้น เมื่อ ปี พ.ศ. 2467 สมัยพระยาสุรินทร์ ราชา (นกยูง วิเศษกุล) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต และเป็นที่ตั้งโรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษมูลนิธิ โรงเรียนวัดควนวิเศษ และศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดควนวิเศษ (อยู่ในความดูแลของเทศบาลนครตรัง) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ได้ผูกพัทธสีมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2493
          เจ้าอาวาสรูปแรก คือ ท่านบัวศรี
          เจ้าอาวาสปัจจุบัน คือ พระครูสังฆรักษ์อัมพร



(6) วัดตันตยาภิรม

          เดิมชื่อวัด ต้นตอ

          ตั้งอยู่เลขที่ 156 ถนนท่ากลาง (ถนนสายตรัง – สิเกา) ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

อาณาเขต
          ทิศเหนือยาว 4 เส้น 2 วา ติดต่อกับคลองห้วยยาง
          ทิศใต้ยาว 8 เส้น 2 วา ติดต่อกับถนนหลวงสายตรัง – สิเกา
          ทิศตะวันออกยาว 2 เส้น 5 วา ติดต่อกับถนนน้ าผุด
          ทิศตะวันตกยาว 2 เส้น 15 วา ติดต่อกับที่ท าการประปาตรัง
          ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดเป็นที่เนินลาด ริมเนินควน เอียงลาดจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือ ซึ่งได้ปรับพื้นที่ให้เสมอกันเป็นที่ราบเรียบ

ทรัพย์สิน
          วัดตันตยาภิรม มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 9 ไร่ 76.4 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 2498 มีที่ธรณีสงฆ์ 1 แปลง ซึ่งใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนเทศบาล ๖ (วัดตันตยาภิรม) เนื้อที่ 8 ไร่ 64 วา ตาม น.ส. 3 เล่ม 1 หน้า 74 และหน้า 87

ความเป็นมา
          วัดตันตยาภิรม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2430 ในรัชกาลที่ 5 เดิมมีนามว่า “วัดต้นตอ” ภายหลังต่อมาประมาณ พ.ศ.2481 พระธรรมวโรด (เซ่ง อุตตมเถระ) สถิต ณ วัดราชาธิวาส กรุงเทพฯ เป็นเจ้าคณะมณฑลภูเก็ต ได้เปลี่ยนชื่อวัดนี้ใหม่ว่า "วัดตันตยาภิรม" โดยอาศัยชื่อขุนภิรมสมบัติ และแซ่ตันของท่าน คงจะให้มีความหมายว่า เป็นวัดที่ยินดีในความเป็นระเบียบแบบแผน หรือวัดเป็นที่มีระเบียบแบบแผนอันน่ายินดียิ่ง

          แรกเริ่มสร้างวัด มีพระภิกษุถือรุกขมูลเดินธุดงค์มาพักใต้ต้นสะตอใหญ่ บริเวณที่ตั้งวัดปัจจุบันต่อมาหลวงสมานสมัคจีนนิคร นายอ าเภอเมืองตรัง ต้นสกุล “สมานกุล” และภรรยา ชื่อ หนูเกตุ บุตรีของหลวงยกกระบัตรเมืองตรัง ได้บริจาคที่ดินถวายให้เป็นที่สร้างวัด เรียกว่า “ส านักสงฆ์วัดต้นสะตอ” วัดนี้จึงเป็นที่บำเพ็ญกุศลของประชาชนชาวไทย – จีน บ้านบางรัก อ าเภอเมืองตรัง สืบมา เมื่อทางราชการได้ย้ายที่ตั้งตัวจังหวัดจากอำเภอกันตัง มาตั้งที่ อำเภอบางรัก (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นทับเที่ยง หรืออำเภอเมืองตรังในปัจจุบัน) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2461 ได้ถือเอาวัดนี้เป็นสถานที่กระทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา จนถึง พ.ศ. 2470 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2463 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 2 เส้น ยาว 3 เส้น ผูกพัทธสีมาครั้งแรก พ.ศ. 2472 ครั้งหลังเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 ได้รับการยกฐานะ เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2527 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 30 มีนาคม 2527
เจ้าอาวาสรูปแรก คือ เจ้าอธิการขาว (หลวงพ่อขาว)
เจ้าอาวาสปัจจุบัน คือ พระครูอาทรกิตยานุกูล (เจ้าคณะอำเภอย่านตาขาว)


 

(7) วัดนิโครธาราม

          ตั้งอยู่เลขที่ 23 บ้านสวนจันทน์ ถนนวัดนิโครธ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง พื้นที่ตั้งวัดเป็นเนินสูงและบางส่วนเป็นที่ลุ่ม เสนาสนะปลูกสร้างไว้เป็นสัดส่วนโดยเขตพุทธาวาสอยู่ส่วนกลาง

อาณาเขต
          ทิศเหนือ ยาว 3 เส้น 15 วา ติดต่อกับที่มีการครอบครอง
          ทิศใต้ ยาว 3 เส้น 3 วา ติดต่อกับที่ดินของเทศบาล
          ทิศตะวันออก ยาว 2 เส้น 15 วา ติดต่อกับที่มีการครอบครอง
          ทิศตะวันตก ยาว 4 เส้น 15 วา ติดต่อกับที่มีการครอบครอง

ทรัพย์สิน
          มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 20 ไร่ 1 งาน 11 ตารางวา

ความเป็นมา
          วัดนิโครธาราม สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2392 แต่เดิมวัดตั้งอยู่บนที่โคกสูงกลางทุ่ง มีนามเดิมว่า “วัดไทรขนุน” หลังจากย้ายเสนาสนะมาสร้างขึ้นในที่ตั้งปัจจุบันแล้ว ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2471 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 80 เมตร ยาว 112 เมตร ได้ผูกพัทธสีมาประมาณ พ.ศ. 2476 นอกจากนี้ยังเป็นสำนักปฏิบัติธรรมดีเด่นประจำจังหวัดตรัง เนื่องจากมีรั้วรอบขอบชิดโดยรอบและมีการแบ่งพื้นที่เป็นเขตปฏิบัติธรรมไว้อย่างชัดเจน
          เจ้าอาวาสรูปแรก คือ พระคง
          เจ้าอาวาสปัจจุบัน คือ พระมหาสุวรรณ วิชฺชาธโร (เจ้าคณะอ าเภอเมืองตรัง)



(8) วัดประสิทธิชัย

          เดิมชื่อ วัดปอร์น หรือเรียกอีกชื่อว่า วัดท่าจีน ตั้งอยู่เลขที่ 300 บ้านท่ากลาง ถนนท่ากลาง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือตรัง จังหวัดตรัง พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม สภาพแวดล้อม มีถนน ที่สวนเอกชน ลำคลองและแม่น้ำโดยรอบบริเวณที่ตั้งวัด การคมนาคมสะดวก

อาณาเขต
          ทิศเหนือ ยาว 6 เส้น ติดต่อกับที่ดินมีการครอบครอง
          ทิศใต้ ยาว 8 เส้น ติดต่อกับถนนท่ากลาง
          ทิศตะวันออก ยาว 3 เส้น 17 วา ติดต่อกับคลองปอร์นและคูวัด
          ทิศตะวันตก ยาว 4 เส้น 6 วา ติดต่อกับแม่น้ำตรัง

ทรัพย์สิน
          มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 19 ไร่ 95 ตารางวา ส.ค.1 เลขที่ 91 มีที่ธรณีสงฆ์ 3 แปลง เนื้อที่ 16 ไร่ 97 ตารางวา ส.ค.1 เลขที่ 92 , 270 , 271

ความเป็นมา
          วัดแห่งนี้เดิม ชื่อว่า "วัดปอร์น" เนื่องจากมีคลองแห่งหนึ่งชื่อว่า คลองปอร์น ไหลผ่านตลาดทับเที่ยง ในตัวเมืองตรัง แล้วยังไหลผ่านวัดประสิทธิชัย ลงสู่แม่น้ำตรัง หรือเรียกกันว่าปากคลองปอร์น ซึ่งอยู่ใกล้กับทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์ทุ่งปอร์น โดยบางส่วนทางเทศบาลนครตรัง ได้นำไปก่อสร้างเป็นโรงฆ่าสัตว์ และเป็นที่ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) จังหวัดตรัง

          ส่วนอีกชื่อหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดท่าจีน เนื่องจากบริเวณชุมชนท่าจีน โดยรอบวัดเป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีนเป็นจำนวนมาก ซึ่งสมัยก่อนนั้นการคมนาคมไม่สะดวก ไม่มีทางรถไฟ ขณะที่ทางรถยนต์ก็ยังยากลำบาก ดังนั้น การสัญจรไปมาจึงต้องอาศัยแม่น้ำตรังเป็นหลัก ต่อจากนั้น เมื่อมีชาวจีนที่อพยพมาตั้งหลักแหล่งทำมาค้าขายเป็นล่ำเป็นสัน ทำให้มีเรือสินค้าจากต่างประเทศและเกาะต่างๆ ทางประเทศตะวันตก บรรทุกสินค้าเข้าออกไปมาที่ชุมชนแห่งนี้อยู่เป็นประจำ จึงได้มีการจัดทำท่าเรือโดยใช้ชื่อว่า ท่าจีนต่อมาเมื่อมีการสร้างวัดขึ้นจึงเรียกกันว่า "วัดท่าจีน"

          สำหรับการก่อสร้างวัดแห่งนี้ เท่าที่เล่าสืบต่อกันมาพบว่า เมื่อปี พ.ศ.2326 ครั้งที่มีการก่อสร้างพระเจดีย์บรรจุ "พระบรมสารีริกธาตุ" ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีชาวต่างประเทศ และนักแสวงบุญ ให้ความสนใจที่จะร่วมทำบุญกันเป็นจำนวนมาก จึงเดินทางด้วยทางเรือผ่านเข้ามาตามแม่น้ำตรัง หรือสมัยนั้นเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แม่น้ำท่าจีน ระหว่างทางจะมาแวะพักอยู่ที่ชุมชนท่าจีน จึงคิดว่าควรสร้างวัดไว้เป็นอนุสรณ์ ร่วมกันกับชาวจีนที่อยู่ในพื้นที่ ปรากฏหลักฐานที่พอจะยืนยันได้ คือ หินปะการัง ซึ่งเป็นชนิดที่มีอยู่ทั่วไปตามทะเล และตามพื้นที่ของวัดบางส่วนหากขุดลงไปก็จะพบกับหินดังกล่าว
          วัดประสิทธิชัย ได้รับพระราชทานวิสุงคสามสีมา เมื่อ ปี พ.ศ. 2336 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ได้ผูกพัทธสีมา เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2341 เริ่มเปิดสอนพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ ปี
พ.ศ. 2460 นอกจากนี้ยังให้ เทศบาลนครตรังสร้างโรงเรียนประถมศึกษา (ปัจจุบัน คือ โรงเรียนเทศบาล 7 ) ในที่วัด เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ อีกด้วย
          เจ้าอาวาสรูปแรก คือ พระอธิการรอด จนฺทวณฺโณ
          เจ้าอาวาสปัจจุบัน คือ พระประสิทธิโสภณ (รองเจ้าคณะจังหวัดตรัง)



(9) วัดมัชฌิมภูมิ

          เดิมชาวบ้านเรียกว่า “วัดหน้าเขา หรือวัดหนองยวน”  ตั้งอยู่เลขที่ 86 บ้านบางรัก ถนนบ้านหนองยวน ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม สภาพแวดล้อมมีภูเขาตั้งอยู่ติดต่อกับที่วัด บริเวณวัดได้พัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นตลอดมา

อาณาเขต
          ทิศเหนือ ยาว 7 เส้น 10 วา ติดต่อคูน้ าและที่ดินของเอกชน
          ทิศใต้ ยาว 7 เส้น 10 วา ติดต่อกับคูน้ าและที่ดินของเอกชน
          ทิศตะวันออก ยาว 7 เส้น 14 วา ติดต่อกับที่ดินของการรถไฟ
          ทิศตะวันตก ยาว 5 เส้น 12 วา ติดต่อกับภูเขาหนองยวน

ทรัพย์สิน
          มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 53 ไร่ 3 งาน 57 ตารางวา ส.ค. 1 เลขที่ 200 มีที่ธรณีสงฆ์ 2 แปลง เนื้อที่ 83 ไร่ 2 งาน

ความเป็นมา
          วัดมัชฌิมภูมิ ได้รับอนุญาตให้สร้างขึ้นตามหนังสือเลขที่ 119 วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2470 โดยมีขุนสมัครอนุดิษฏ์จับจองที่ดินว่างเปล่า และบริจาคให้เป็นที่สร้างวัด ตามด าริของพระธรรมวโรดม วัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร ซึ่งท่านเป็นเจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราชและภูเก็ต อยู่ในขณะนั้น เดิมชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดหน้าเขา” หรือ “วัดหนองยวน” ตามภูมิประเทศที่ตั้งวัด ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2480 พระธรรมวโรดม ได้เปลี่ยนนามวัดเป็น “วัดมัชฌิมภูมิ” เพราะเห็นว่าเป็นวัดที่เจริญขึ้นมากและตั้งอยู่ท่ามกลางเมืองตรัง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 30 เมตร ยาว 60 เมตร ได้ผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 เริ่มเปิดสอนปริยัติธรรม ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2477 โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอน พ.ศ. 2418 และอนุญาตให้ทางราชการ สร้างโรงเรียนในที่วัด คือ โรงเรียนการช่าง (ชาย) ในปี พ.ศ. 2478 โรงเรียนทักษิณวิทยา และ โรงเรียนประถมศึกษาของเทศบาล (โรงเรียนเทศบาล 4 ในปัจจุบัน) ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2479
          เจ้าอาวาสรูปแรก คือ พระสมุห์เอียด อิสฺสโร
          เจ้าอาวาสปัจจุบัน คือ พระมหาโอทก อริยปคุโณ