Cover4.jpg
โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดมัชฌิมภูมิ)

โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดมัชฌิมภูมิ)

 

 ผลงานโดดเด่น หน่วยงานโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดมัชฌิมภูมิ)

ประจำปีการศึกษา 2565 -2566

****************************************************************

โครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดเทศบาลนครตรัง (O-NET ป.6)

สนองและความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเทศบาลนครตรัง/แผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาและมาตรฐานการศึกษา/ตัวบ่งชี้

สอดคล้องกับแผนพัฒนาเทศบาลนครตรัง

                 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

                 กลยุทธ์ ที่ 1.1 พัฒนาและส่งเสริมการจัดการศึกษาทุกระบบอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐาน

          สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา

                 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่  1 การจัดการคุณภาพการศึกษา

                 กลยุทธ์ที่  1.1 การพัฒนาการจัดคุณภาพการศึกษา

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อทดสอบความรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
  2. เพื่อนำผลการสอบไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน
  3. เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น

 

เป้าหมาย

          เป้าหมายเชิงปริมาณ 

          นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

เป้าหมายเชิงคุณภาพ

นักเรียนได้แสดงศักยภาพทางวิชาการที่ตนถนัดและได้รับการพัฒนาส่งเสริม

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เรียนมาความกระตือรือร้นต่อการเรียนมากขึ้น
  2. ผู้เรียนที่มีความเป็นเลิศในด้านต่างๆ ได้มีความสามารถเพิ่มขึ้น
  3. ผู้เรียนที่มีผลงานเด่นได้พัฒนาศักยภาพในระดับสูงต่อไป
  4. นักเรียนสอบ O-NET ได้ในระดับที่เหมาะสม
  5. ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชานั้นๆ 

สรุปผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์

ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 (O-NET) ปีการศึกษา 2565

กลุ่มสาระการเรียนรู้

ผลการประเมินในปีการศึกษา 2565

ผู้เข้าสอบทั้งหมด

(คน)

คะแนนเฉลี่ย

ร้อยละ

คะแนน

สูงสุด

คะแนน

ต่ำสุด

ร้อยละ

ระดับดีขึ้นไป

1. ภาษาไทย

21

52.81

77.50

23.00

23.81

2. คณิตศาสตร์

21

25.47

53.25

6.50

0.00

3. วิทยาศาสตร์

21

47.62

85.00

25.00

14.29

4. ภาษาต่างประเทศ

21

40.03

81.25

15.63

14.29

                                                           ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ระดับดี

13.09

 

ตารางแสดงระดับคุณภาพผลคะแนนทดสอบ O-NET  จำแนกตามรายวิชาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา  2565 

ระดับคุณภาพ

      ระดับ

     คะแนน

สรุประดับคุณภาพตามช่วงคะแนนจำแนกตามรายวิชา

       ไทย

        คณิต

       วิทย์

      อังกฤษ

     (61)

     (64)

     (65)

     (63)

ดีเยี่ยม

4.00

0

0

0

0

ดีมาก

3.50

1

0

1

1

ดี

3.00

4

0

2

2

ค่อนข้างดี

2.50

7

2

5

3

ปานกลาง

2.00

5

6

8

7

พอใช้

1.50

4

12

3

7

ควรปรับปรุง

1.00

0

0

2

1

ควรปรับปรุงอย่างยิ่ง

0.00

0

1

0

0

รวม

 

21

21

21

21

คะแนนระดับดีขึ้นไป(คน)

 

5

0

3

3

ร้อยละคะแนนระดับดีขึ้นไป

 

23.81

0.00

14.29

14.29

 

          ผลการทดสอบทางการศึกษระดับชาติขั้นพื้นฐาน  (O-NET) ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 เปรียบเทียบระหว่างปี 2563- 2565

ปีการศึกษา

กลุ่มสาระวิชา

คะแนนเฉลี่ยร้อยละจำแนกตามระดับ

 

โรงเรียน

จังหวัด

สังกัด

ประเทศ

 

2563

ภาษาไทย

57.07

61.05

54.37

56.20

 

ภาษาอังกฤษ

40.71

45.79

41.71

43.55

 

คณิตศาสตร์

27.00

32.40

28.53

29.99

 

วิทยาศาสตร์

40.19

42.67

37.70

38.78

 

2564

ภาษาไทย

39.66

51.86

49.10

50.38

 

ภาษาอังกฤษ

30.34

39.96

38.05

39.22

 

คณิตศาสตร์

35.86

38.56

35.62

36.83

 

วิทยาศาสตร์

34.17

34.98

33.48

34.31

 

2565

ภาษาไทย

52.81

56.68

53.18

53.89

 

ภาษาอังกฤษ

40.03

37.02

36.49

37.62

 

คณิตศาสตร์

25.47

29.38

26.68

28.08

 

วิทยาศาสตร์

47.62

41.64

38.87

39.34

 

 

แผนภูมิแสดงผลการทดสอบทางการศึกษระดับชาติขั้นพื้นฐาน  (O-NET) ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 เปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ.2563 - 2565

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. ประโยชน์ต่อสถานศึกษา  คณะครู - อาจารย์ นำผลประเมินไปใช้เป็นข้อมูลในการแนะแนวทางการศึกษาให้กับนักเรียน พัฒนาการจัดการเรียนการสอนและพัฒนานักเรียนให้ได้คุณภาพมาตรฐานยิ่งขึ้น
  2. ประโยชน์ต่อนักเรียน  นักเรียนจะทราบระดับความสามารถของตนเอง  จุดเด่น จุดด้อย  และแสวงหาแนวทางการพัฒนาตนเอง

ข้อเสนอแนะ

  1. จากผลการประเมินที่ปรากฏ ครูผู้สอนควรนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้ผู้เรียนมีความพร้อมในระดับชั้นที่สูงขึ้นไป  โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอน  จัดกิจกรรมให้หลากหลายมากขึ้นเน้นการอ่าน  คิด  วิเคราะห์  และเขียน  และติดตามผลอย่างต่อเนื่อง  ให้การช่วยเหลือ  เป็นที่ปรึกษา  เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในส่วนที่บกพร่องได้พัฒนาขึ้น
  2. บุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา  โดยเฉพาะผู้บริหารควรนำข้อมูลมาใช้วางแผนบริหารงาน       แก้ไขปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น     และเป็นขวัญกำลังใจให้ครูผู้สอนในการพัฒนาการสอนของตน  มีการนิเทศและติดตามผลสม่ำเสมอ
  3. ควรมีการอบรมการวัดประเมินผลตามแนวทางการจัดการศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2551 เพื่อปรับเปลี่ยนตามการวัดผลแนวใหม่และเพิ่มประสิทธิภาพแก่บุคลากรในโรงเรียน
  4. การเรียนการสอนควรสร้างความตระหนักทางการเรียนให้แก่นักเรียนและติดตามประเมินผลร่วมกับผู้ปกครองในการประเมินเชิงพฤติกรรมการใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน

ปัญหาและอุปสรรค

          จากการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 (O-NET) ที่ผ่านมาพบว่ามีปัญหาและอุปสรรค  ดังนี้

  1. การขาดความต่อเนื่องทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อันเนื่องมาจากร่วมกิจกรรมของเทศบาลหรือหน่วยงานอื่นๆที่จัดขึ้นเสริมนอกเหนือหลักสูตรในช่วงเวลาเตรียมสอบ
  2. ครูมีภาระงานมากนอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนทำให้ขาดการเติมเต็มนักเรียนในการเตรียมความพร้อม
  3. นักเรียนไม่ค่อยกระตือรือร้นกับการเตรียมสอบ O-NET
  4. นักเรียนขาดการทบทวนบทเรียนที่ผ่านมา ไม่ให้ความสำคัญกับการสอบ

แนวทางการพัฒนา

           ในปีการศึกษา 2566 สำนักการศึกษา/ศึกษานิเทศก์/ผู้บริหาร ครูผู้สอนทุกคนและผู้ปกครองต้องร่วมมือกันในการพัฒนาการจัดการศึกษาให้กับนักเรียนโดยกำหนดแผนพัฒนาพร้อมปฏิทินงานไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน             การกระจุกของงานที่กระทบต่อความต่อเนื่องในการเรียนของนักเรียนที่เข้ารับการทดสอบ


โครงการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน

สนองและความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเทศบาลนครตรัง/แผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาและมาตรฐานการศึกษา/ตัวบ่งชี้

สอดคล้องกับแผนพัฒนาเทศบาลนครตรัง

                 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

                 กลยุทธ์ ที่ 1.1 พัฒนาและส่งเสริมการจัดการศึกษาทุกระบบอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐาน

          สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา

                 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่  1 การจัดการคุณภาพการศึกษา

                 กลยุทธ์ที่  1.2 การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้

วัตถุประสงค์

1.  เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเรียนเกิดการเรียนรู้โดยศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

2.  เพื่อให้นักเรียนรู้จักวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ เข้าใจการทำงานกลุ่ม สามารถแก้ปัญหาจากการทำงานและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

3.  เพื่อให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

4.  เพื่อจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์และของรางวัลในการทำโครงงาน

เป้าหมาย

          เป้าหมายเชิงปริมาณ 

นักเรียนในโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดมัชฌิมภูมิ) ทุกคน

เป้าหมายเชิงคุณภาพ

นักเรียนในโรงเรียนเทศบาล 4(วัดมัชฌิมภูมิ) ทุกคนเกิดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการโครงงานเป็นฐาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. นักเรียนในโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดมัชฌิมภูมิ) ทุกคนเกิดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการโครงงานเป็นฐาน
  2. นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้ตามความถนัด ความสนใจของตนเอง
  3. นักเรียนรู้จักวางแผนการทำงาน เข้าใจการทำงานกลุ่ม แก้ปัญหาและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้
  4. นักเรียนมีทักษะกระบวนการ มีการหาความรู้อย่างเป็นขั้นตอน 

สรุปผลการดำเนินงาน

                   จากการจัดโครงการประกวดโครงงานในโครงการจัดเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานนี้ได้ดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ทำให้นักเรียนมีประสบการณ์ตรง นักเรียนได้เรียนรู้โดยการค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง  รู้จักวางแผนการทำงานอย่างมีระบบ  รู้จักแก้ปัญหาในการทำงาน  ฝึกการคิดวิเคราะห์ และมีความคิดสร้างสรรค์ จนสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองได้ในที่สุดนั้นจะต้องมีวิธีการที่ส่งเสริมให้บรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว  การเรียนการสอนในปัจจุบันจึงพยายามมุ่งเน้นให้มีการจัดการเรียนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ การให้นักเรียนทำกิจกรรมโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการปลูกฝังและพัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้และ เจตคติ โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดมัชฌิมภูมิ) จึงจัดโครงการนี้ขึ้นซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการที่ตั้งไว้ 

 สรุปผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ / กิจกรรม

สภาพความสำเร็จ

ผลการดำเนินงาน

บรรลุ

ไม่บรรลุ

1

เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเรียนเกิดการเรียนรู้โดยศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

 

 /

 

นักเรียนได้มีความรู้จากการศึกษาและช่วยกันค้นคว้าความรู้ในการทำโครงงาน

2

เพื่อให้นักเรียนรู้จักวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ เข้าใจการทำงานกลุ่ม สามารถแก้ปัญหาจากการทำงานและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

 

/

 

นักเรียนมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ และมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม

3

เพื่อให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

/

 

นักเรียนกล้าแสดงออกในการพูด กล้าคิด กล้าตอบคำถาม นำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการ

                                                    

สรุปผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

วิธีประเมิน

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน

1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเรียนเกิดการเรียนรู้โดยศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

- แบบสอบถาม

- แบบสังเกต

2. เพื่อให้นักเรียนรู้จักวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ เข้าใจการทำงานกลุ่ม สามารถแก้ปัญหาจากการทำงานและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

- ตรวจผลงาน

- แบบบันทึกคะแนนตามเกณฑ์การให้คะแนนการประกวดโครงงาน

3. เพื่อให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

- แบบสอบถาม/ตรวจผลงาน

- การนำเสนอผลงาน

  

ปัญหา / อุปสรรค

  1. ระยะในการจัดทำโครงงานน้อยไป คุณครูบางท่านมีภาระงานมากไม่สามารถฝึกซ้อมในการนำเสนอของเด็กได้ทันเวลาหรือได้ไม่ดีเท่าที่ควร

ข้อเสนอแนะ

  1. ควรกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจนมากขึ้น และมีเอกสารคู่มือกับนักเรียนและคุณครูในการจัดทำแผง

โครงงาน และรูปเล่มโครงงานที่ถูกต้อง

  1. ครูควรมีเวลาในการตรวจรูปเล่มโครงงานของนักเรียนให้มากขึ้นและคอยชี้แนะให้กับนักเรียน

ในการนำเสนอโครงงานให้มากกว่านี้

Date

28 กุมภาพันธ์ 2567

Tags

โรงเรียนเทศบาล