Cover4.jpg

ศาลเจ้า

ศาลเจ้า จํานวน 10 แห่ง


ลัทธิเต๋าและขงจื้อ
          ศาลเจ้าถือว่าเป็นศาสนสถานตามคติความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีน เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน ซึ่งในเขตเทศบาลนครตรัง มีศาลเจ้าที่ได้รับการเคารพนับถืออยู่ 10 แห่ง ได้แก่


 

1. ศาลเจ้าท่ามกงเยี่ย
          ที่อยู่ ถนนเพลินพิทักษ์ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง โทร 0-7521-8706


ประวัติความเป็นมา
          ศาลเจ้าท่ามกงเยี่ยนับเป็นศาลเจ้าอีกแห่งหนึ่งที่มีประวัติคู่กับเมืองตรังมาอย่างยาวนาน ตั้งอยู่บริเวณถนนเพลินพิทักษ์ ในเขตเทศบาลนครตรัง ชาวบ้านเรียกว่า “โรงพระท่ามกงเยี่ย” นับเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวตรัง นับตั้งแต่แรกเกิดจากครรภ์มารดาเมื่ออายุครบเดือนบิดามารดาจะพามาไหว้เพื่อขอให้พระท่ามกงเยี่ยรับไว้เป็นบุตร โดยการบอกวันเดือนปีเกิดให้เจ้าหน้าที่ศาลเลือกชื่อให้ตามสมควรแล้วจึงเสี่ยงโปยถามพระ โดยมากบุตรของท่านทุกคนจะมีชื่อกลางเดียวกันว่า “ท่าม” ไม่ว่าชาวบ้านจะมีทุกข์โศกโรคภัย วารดิถี งานเทศกาล หรือประสบความสำเร็จใดๆ ก็จะมีลูกหลานมากราบไหว้สักการบูชาเสมอกล่าวว่าเซียมซีของท่านแม่นยำผู้คนมักนิยมบนท่านด้วยหมูย่างทั้งตัวหรือย่อมลงมาตามกำลังศรัทธาและทุนทรัพย์ หรือความเกี่ยวข้อง ความสำเร็จในกิจการนั้นๆ
          มีเรื่องเล่าว่าเมื่อปี พ.ศ. 2428 มีชาวจีนแซ่เจ็งจากมณฑลกวางตุ้ง ขึ้นเรืออพยพหนีความยากจนมาเสี่ยงโชค โดยนำผ้ายันต์และเถ้าธูปของพระท่ามกงเยี่ยจากวัดเก้ามังกรที่ศรัทธาติดตัวมาด้วย เมื่อขึ้นฝั่งที่เมืองไทย และได้มาตั้งรกรากที่ตรัง (พื้นที่ศาลเจ้าในปัจจุบัน) พร้อมตั้งโต๊ะบูชาผ้ายันต์และเถ้าธูปท่ามกงเยี่ยทุกวัน ภายหลังมีชาวบ้านเริ่มมาขอบูชาด้วย และศรัทธามากขึ้นเรื่อยๆ จนมีการสร้างเป็นศาลเจ้าเมื่อ ปี พ.ศ.2496 ปัจจุบัน ศาลเจ้าท่ามกงเยี่ย มีพื้นที่กว้างขวาง มีสระน้ำแลดูร่มรื่น ตัวศาลเจ้าเป็นอาคารชั้นเดียวเบื้องหน้าอาคารมีแท่นบูชาฟ้าดิน พระถี่ก๋งหรือเทียนสิน หน้าประตูจารึกพระนาม พระท่ามกงเยี่ย พร้อมกลอนคู่คำกวางตุ้ง ซินเหล่งอิ๋นฮัก เสงเซ่าโหม่วเกิง จิตวิญญาณของเซียนอมตะให้ยิ่งใหญ่และปรากฏชัด ความศักดิ์สิทธิ์ให้ยั่งยืนไม่มีขอบเขตภายในอาคารศาลเบื้องหน้ามีแท่นบูชาเทวดารวม ตรงกลางศาลมีบ่อฟ้าโดยธรรมเนียม ส่วนภายในมีแท่นบูชากลางเป็น พระท่ามกงเยี่ย แท่นบูชาเบื้องขวาเป็น พระซำฮวบซือ หรือ เจ้าพ่อหมื่นราม นอกจากนี้ยังมี เจ้าพ่อเสือ พระท้ายปักกุง และ พระโพธิสัตว์กวนอิม เนื่องจากมีสาธุชนมาสักการะพระท่ามกงเยี่ยเป็นจำนวนมาก พื้นที่ภายในศาลจึงดูคับแคบ ทางศาลเจ้าจึงเปิดกำแพงทั้งสองฝั่ง เพื่อระบายอากาศและสามารถรองรับสาธุชนให้ได้รับความสะดวกขึ้น เหนือประตู เมื่อออกจากศาลจะมีป้ายบ่งบอกว่า ศาลนี้สร้างด้วยความร่วมใจระหว่างลูกหลานทั้ง 2 มณฑล คือ กวางตุ้งและฮกเกี้ยน รวมถึงชาวไหหลำซึ่งไม่แยกเป็นมณฑลแห่งใหม่ ส่วนภายนอกอาคารศาลมีมีอาคารเป็นเรือนนอนรักษาผู้ป่วย อาคารโรงครัว โรงงิ้ว สระน้ำ และศาลากลางน้ำ




2. ศาลเจ้าเปากง

           ที่อยู่ 128 ถนนหนองยวน ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เบอร์โทร 087-496-4141

 


 

3. ศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย
          ที่อยู่ เลขที่ 169 ถนนท่ากลาง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง


ประวัติความเป็นมา
          ศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย ถือเป็นศาลเจ้าที่ใหญ่ และเก่าที่สุดของจังหวัดตรัง ส าหรับ “ศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย” ตามภาษาจีนฮกเกี้ยน แต่ผู้คนโดยทั่วไปมักจะเรียกกันว่า “กิวอ๋อง” หรือ “กิวอ๋องเอี๋ย” ตั้งอยู่บนถนนท่ากลางในเขตเทศบาลตรัง หรืออยู่ตรงข้ามกับวัดตันตยาภิรม บนเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่เศษว่ากันว่า เมื่อประมาณ 160 ปีมาแล้ว ชาวจีนฮกเกี้ยนได้พากันอพยพเข้ามาทางเรือตามแม่น้ าตรัง ซึ่งเดิมเรียกว่า “คลองท่าจีน” ตามชื่อหมู่บ้านที่มาตั้งหลักฐาน คือ “หมู่บ้านท่าจีน” ก่อนที่ทางราชการจะเปลี่ยนมาเป็น “ตำบลบางรัก” ในเวลาต่อมา หมู่บ้านแห่งนี้มี “วัดปอร์น” ตั้งอยู่ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า “วัดประสิทธิชัย” หรือ “วัดท่าจีน” โดยชาวจีนฮกเกี้ยนได้ร่วมกันตกลงให้ “นายลิ่มก๊กจุ้ย” อัญเชิญกระถางธูปของเทพเจ้าเก้าองค์ ตามคัมภีร์สวดมนต์ “ปั๊กเต้าเก็ง” ของชาวจีน ได้แก่ พระพุทธเจ้า 7 องค์ และพระโพธิสัตว์ 2 องค์ มาไว้กระทำพิธีถือศีลกินเจ สำหรับพระพุทธเจ้า 7 องค์ ได้แก่ พระวิชัยโลกมนจรพุทธะ พระศรีรัตนโลกประภาโฆษอิศวรพุทธะ พระเวปุลลรัตนะโลกสุวรรสิทธิพุทธะ พระอโศกโลกวิชัยมงคลพุทธะ พระวิสุทธิอาศรมโลกเวปุลลปรัชญาวิภาคพุทธะ พระธรรมมติธรรมสาครจรโลกมโนพุทธะ และพระเวปุลลจันทรโภคไภสัชชไวฑูรย์พุทธะ ส่วนพระโพธิสัตว์ 2 องค์ ได้แก่ พระศรีสุขโลกปัทมครรภอลังการมหาโพธิสัตว์ และพระศรีเวปุลภสังสารโลกสุขะอิศวรมหาโพธิสัตว์
          อย่างไรก็ตาม เมื่อการถือศีลกินเจ ได้มีชุมชนเข้าร่วมมากขึ้นทุกปี ทางชมรมชาวจีนต่างเห็นว่า สมควรที่จะต้องจัดหาที่ให้เป็นสัดส่วน เมื่อ พ.ศ.2532 จึงได้ซื้อที่ดินขึ้น 1 แปลง ในเนื้อที่ประมาณ 7 ไร่เศษ เพื่อสร้างศาลเจ้าขึ้น และได้จดทะเบียนถูกต้องตามประกาศทางราชการเมื่อ พ.ศ.2463 เดิม “ศาลกิวอ่องเอี่ย” เป็นเพียงศาลเจ้าขนาดเล็ก ที่มีหลักฐานปรากฏอ้างอิงตามแผ่นป้ายนำขบวนในวันที่พระพุทธเจ้าเก้าองค์ เสด็จออกโปรดให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุข ในงานถือศีลกินเจ ซึ่งตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 9 จีน โดยป้ายน ากระบวนแห่งนี้ ได้ท าขึ้นภายหลังจากการสร้างศาลเจ้าแล้ว 7-8 ปี เมื่อกาลเวลาผ่านไป ศาลเจ้าซึ่งสร้างขึ้นด้วยไม้ ก็เริ่มจะผุพัง ดังนั้น เมื่อ พ.ศ.2495 ทางคณะกรรมการศาลเจ้า ประกอบด้วย “นายนิยม ข่ายม่าน” ซึ่งเป็นผู้ตรวจตราสอดส่อง “นายเอก วังตระกูล” (ครูตองเอ๊ก) “นายเทียนศรี ธรรมารักษ์” และบุคคลอื่นอีกประมาณ 36 คน จึงได้ร่วมกันตกลงสร้างศาลเจ้าขึ้นใหม่

          “ศาลกิวอ่องเอี่ย” ในปัจจุบัน มีเนื้อที่ของอาคารต่างๆ กว้างขวางมากขึ้น มีโต๊ะบูชาเทพเจ้าองค์ต่างๆ โดยมีอักษรกำกับการกราบไหว้ไว้พร้อมมูล เช่น “องค์กิวอ่องไต่แต่” ให้บูชาธูป 9 ดอก และน้ำเต้าแชกุน ให้บูชาธูป 6 ดอก รวมทั้ง “ปั่กเต้าแชกุน”, “หลั่งกวนไต่เต่”, “ตั่วแป๊ะก๋ง”, “เจ้าพ่อเสือ" เป็นต้น นอกจากนั้น ภายในศาลเจ้า ยังมีศาลเทวดาฟ้าดิน ศาลไท้ซือเอี๋ย ศาลเจ้าแม่กวนอิม และบริเวณลาน
กว้างเพื่อใช้ประกอบพิธีต่างๆ ซึ่งทุกวันนี้จะมีผู้มีจิตศรัทธาเดินทางไปกราบไหว้บูชาไม่ขาดสาย โดยเฉพาะในงานประเพณีถือศีลกินเจ หรือที่ชาวตรังนิยมเรียกกันว่า “ถือศีลกินผัก” ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นระยะเวลา 10 วัน 10 คืน ช่วงประมาณเดือนตุลาคมของทุกๆ ปีนั้น จะมีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศเดินทางมายังศาลเจ้าแห่งนี้กันเป็นจำนวนมากนับหมื่นๆ คน ไม่ว่าจะเป็นชาวไทย หรือชาวต่างชาติ

 



4. ศาลเจ้าไต่เสี่ยฮุดโจ้ว
          ที่อยู่ 1/3 ถนนนางน้อย ตรงข้ามวัดควนขัน ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง


ประวัติความเป็นมา
          ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2529 ซึ่งในขณะนั้นตั้งอยู่ติดกับศาลเจ้าพ่อหมื่นรามในตัวเมืองตรัง ต่อมาได้ย้ายศาลเจ้าใหม่ไปอยู่ที่หน้าวัดควนขัน ในตำบลทับเที่ยง เมื่อ พ.ศ 2552 ประชาชนที่มีความศรัทธาในองค์ไต่เสี่ยฮุดโจ้ว มักจะมากราบไหว้ขอพร บนบานเรื่องต่างๆ เมื่อสำเร็จตามความประสงค์ก็จะนำกล้วยมาถวาย นอกจากนี้ยังมีการประทับทรงโดยจะทำพิธีอัญเชิญองค์ไต่เสี่ยฮุดโจ้วมาประทับ เพื่อช่วยเหลือตามที่ผู้ศรัทธาร้องขอความช่วยเหลือ ( มีประทับทรงทุกวันยกเว้นวันพุธ)

 



5. ศาลเจ้าพ่อหมื่นราม
          ที่อยู่ ถนนรัษฎา ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง


ประวัติความเป็นมา
          ในปีพุทธศักราช 2493 นายย้ง ซึ่งเป็นลูกศิษย์เจ้าพ่อเขาตกในขณะนั้น ได้ทำพิธีเชิญกระถางธูปของเจ้าพ่อเขาตกมาบูชา อยู่มาวันหนึ่งเพื่อนของท่านได้มาพบเห็น และทราบประวัติความเป็นมาตลอดจนการประทับทรงจากนายย้ง หลังจากนั้นจึงร่วมกันทำพิธีอัญเชิญเจ้าพ่อเขาตกมาประทับทรง โดยมีนายย้ง เป็นร่างทรงเจ้าพ่อเขาตก เจ้าพ่อเขาตกทรงแผ่บารมีรักษาคนเจ็บไข้ได้ป่วยจนมีผู้นับถือศรัทธาเป็นจำนวนมาก ต่อมาเจ้าพ่อหมื่นรามก็ลงมาประทับทรง นายฮวด เจ้าพ่อหมื่นรามท่าน สูงด้วยบารมี เมื่อได้ลงมาประทับทรง ท่านแผ่บารมีช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก เช่น การรักษาผู้ป่วย ช่วยเหลือกลุ่มคณะต่างๆในการสร้างศาลเจ้า บำเพ็ญทานบารมี สร้างวัดโรงเรียนและสะพาน ตลอดจนแผ่เมตตาแจกน้ำและอาหาร รวมทั้งสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ให้แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากด้วยบุญบารมีมากล้นดังกล่าว จึงส่งผลให้ผู้มีจิตศรัทธามอบกายถวายจิตเป็นศิษย์เป็นลูกหลานของเจ้าพ่อหมื่นรามเป็นจำนวนมาก ต่อมาจึงได้ทำพิธีอัญเชิญเจ้าพ่อหมื่นรามให้สถิตอยู่ที่เมืองตรังนี้เป็นการถาวร เมื่อปีพุทธศักราช 2500 ระยะแรกจัดสร้างอาคารศาลเป็นเรือนไม้ขนาดกลาง ตั้งอยู่ที่ซอยกรมทางเก่า ถนนกันตัง คณะผู้บริหารชุดแรก เช่น เต้าง้วนกี่ เป่งเส่ง บ้วนเซ่งฮง จิวเซี่ยบั้ง ฉั่วปวยกุ่ย เป็นต้น และได้จัดให้มีประเพณีถือศีลกินผักของพระกิ๋วอ้วงฮุดโจ้ว ณ ศาลเจ้าพ่อหมื่นรามตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ต่อมาเมื่อศาลเจ้าพ่อหมื่นรามหลังเดิมมีความแออัดไม่เพียงพอต่อกิจกรรมของสาธุชนผู้ศรัทธา จึงได้ขยับขยายย้ายมาอยู่ในสถานที่แห่งใหม่บนถนนรัษฎา เยื้องสนามกีฬาเทศบาลตรัง เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2523 และได้จัดตั้งเป็นมูลนิธิหมื่นราม หรือซำฮวบซือเซี่ยงตึ้ง วัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์
          กล่าวกันว่า เจ้าพ่อหมื่นรามนั้นมีพี่น้องร่วมสาบาน 3 องค์ คือ
          1. พระตั่วฮวบซือ หรือเจ้าพ่อเขาใหญ่ พำนักอยู่ที่เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา
          2. พระยี่ฮวบซือ น่ำทีเมึ้งแปะก๋ง หรือเจ้าพ่อเขาตก พำนักอยู่ที่ อำเภอพระพุทธบาท จ.สระบุรี
          3. พระซำฮวบซือ เจ้าพ่อหมื่นราม จ.ตรัง

 



6. ศาลเจ้าพ่อเสือ
          ที่อยู่ 31 ถนนควนวิเศษ ซอยศาลเจ้าพ่อเสือ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง


ประวัติความเป็นมา
          ศาลเจ้าพ่อเสือจังหวัดตรังได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2541 โดยลูกหลานผู้มีจิตศรัทธาร่วมใจกันสร้างขึ้น เพื่อให้ลูกหลานและผู้มีจิตศรัทธาในเขตจังหวัตตรัง และจังหวัตใกล้เคียงทั่วไปที่มีจิตศรัทธาได้มีที่สักกระบูชาเข้าพ่อเสือ และประกอบในพิธีการห่างๆเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว

 



7. ศาลเจ้าส่ามอ๋องฮู้เต้าโบ้เกง
          ที่อยู่ 63 ถนนเพลินพิทักษ์ ต.ทับเที่ยง (ข้างโรงพระท่ามกงเยี้ย) อ.เมือง จ.ตรัง โทร 086782349, 0661026611


ประวัติความเป็นมา
          ศาลเจ้าส่ามอ๋องฮู้เต้าโบ้เกง (ส่ามอ๋องฮู้) เป็นศาลเล็กๆตั้งอยู่ถนนเพลินพิทักษ์ (ข้างโรงพระท่ามกงเยี้ย) ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง ตรังเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประเพณีถือศีลกินเจมาตั้งแต่โบราณจนเป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศมีคนมาท่องเที่ยวที่จังหวัดตรังเป็นจ านวนมาก เพื่อชมและร่วมพิธีถือศีลกินเจ สืบเนื่องมาจากชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินใน ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นจำนวนมากด้วยนายท่ามลุ้ง ( ชื่อที่โรงพระท่ามกงเยี้ยตั้งให้ตอนเด็ก ) ได้ไปอยู่จังหวัดภูเก็ตเป็นเวลาหลายปีได้เข้าร่วม ประเพณีถือศีลกินเจ หรือ พิธีกรรมกินผักที่ศักดิ์สิทธิ์ของ ( ศาลเจ้าจุ๊ยตุ่ยเต้าโบ้เกง และศาลเจ้าบางเหนียว ) จึงเกิดความเลื่อมใส ศรัทธา จึงได้อันเชิญองค์ศักดิ์สิทธิ์ (ส่ามฮู้อ๋องเอี๋ย ) มาประกอบพิธีถือศีลกินเจในจังหวัดตรัง คำว่า ส่ามฮู้อ๋องเอี๋ย หมายถึงองค์เทพสามองค์ (พระสามตระกูล) ส่ามฮู้ฮ๋องเอี๋ยหรือส่ามฮ๋องฮู้ในที่นี้หมายถึงองค์ศักดิ์สิทธิ์หรือองค์พระแซ่จู 1 (จูฮู้อ๋องเอี๋ย) องค์ศักดิ์สิทธิ์หรือองค์พระแซ่หลี 1 (หลีฮู้อ๋องเอี๋ย) องค์ศักดิ์สิทธิ์หรือองค์พระแซ่เฮง 1 (เฮงฮู้อ๋องเอี๋ย ) และมีพี่น้องร่วม สาบาน 360องค์ ส าหรับพิธีกรรมของจังหวัดตรังและจังหวัดภูเก็ตมีความแตกต่างกันเล็กน้อยเกือบจะเหมือนกันก็ว่าได้ และศาลเจ้าส่ามอ๋องฮู้เต้าโบ้เกง (อ๊ามส่ามอ๋องฮู้ ) มีวัตถุประสงค์
หลักคือจัดงานประเพณี ถือศีลกินเจประจ าปี(เก้าอ้วงเจ)โดยยึดแบบตามประเพณีจีนฮกเกี้ยนโบราณได้มีประชาชน
เข้าร่วมพิธีกรรมมากขึ้นทุกปีมีองค์ “ จูฮู้อ๋องเอี๋ย เฮงฮู้อ๋องเอี๋ย หลีฮู้อ๋องเอี๋ย”องค์มหาเทพก่องเต็กจุนอ๋อง (โก๊ยเซ่งอ๋อง) เป็นพระประธาน นอกจากนี้ภายในตั๋ว ยังมีพระอ๋องเอี๋ยอีกหลายองค์ และองค์พระโพธิสัตว์กวนอิมองค์ยุวเทพท่ามกงเยี้ย องค์เทพเฮี่ยงเทียนเสี่ยงตี่ (ตั่วเหล่าเอี๊ย) องค์ไท่เซ่งโล้กุน องค์เฉ่งจุ้ยจ้อซือองค์เทพกวนอูองค์เทพนาจา นอกจากนี้ยังมี ปรมาจารย์ซินแสต่องเอ็ก และองค์เทพอื่นๆ ถือเป็นศาลเจ้าเล็กๆศาลเจ้าหนึ่งในจังหวัดตรัง

 



8. ศาลเจ้าโป้เซ้งเก็ง ท้ายพรุ
          ที่อยู่ 99/14 ถนนรัษฏา ซอยข้างสนามกีฬาเทศบาลนครตรัง ต. ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000 สมาคมฮกเกี้ยน จ.ตรัง โทร…075218601

 

ประวัติความเป็นมา
          เดิมมีชาวจีนอพยพมาจากเมืองจ่วนจิว มณฑลฮกเกี้ยน มาตั้งรกรากอยู่ในเขตเทศบาลนครตรังในปัจจุบัน ได้น าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่พวกตนเคารพนับถือติดตัวมาด้วย เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งนั้นก็คือพระหมอโป้เซ้งไต่เต่ ในแต่ละปี ชาวจีนฮกเกี้ยนกลุ่มนี้ก็จะชักชวนกันมาร่วมกันทำพิธีสักการะบูชาในวันเกิดของพระโป้เซ้งไต่เต่ ซึ่งตรงกับเดือน 3 ขึ้น 15 ค่ า นับตามจันทรคติปฎิทินจีน จึงเกิดเป็นสมาคมย่อยๆขึ้น โดยเอาชื่อท้องถิ่นเดิมที่อพยพมาตั้งขึ้นเป็นชื่อเรียกว่า “ จ่วนเส่งเซี่ย “ ซึ่งเหตุการณ์นี้มีมาก่อน ปี พ.ศ. 2445 ต่อมาในปี พ.ศ.2478 สมาชิกกลุ่มเดิมได้รวมตัวกันตั้งเป็นสมาคมโดยใช้ชื่อว่า “สมาคมต่งเซี่ยนเซี่ย” ซึ่งมีความหมายว่า กลุ่มที่ร่วมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมอันเป็นกุศล โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้านฌาปนกิจและการกุศลอื่นๆ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปี 2491 ด้วยความผันผวนทางการเมืองและเศรษฐกิจทำให้สมาคมต่งเซี่ยนเซี่ย เปลี่ยนชื่อมาเป็น สมาคมฮกเกี้ยน จวบจนถึงปัจจุบันการก่อสร้างศาลเจ้าโป้เซ้งเก็ง แห่งนี้ เริ่มต้นมาจาก เมื่อไม่ต่ำกว่า 80 ปีมาแล้ว มีชาวฮกเกี้ยนชื่อ  “ซออาถ้อ” เข้ามาทำสวนพริกไทย ในเมืองตรัง ได้เกิดล้มป่วยลงกะทันหัน รักษาอย่างไรอาการก็มิดีขึ้น ต่อมาได้ฝันว่า มีเด็กจีนผมจุก เข้ามาจูงมือถึงเตียงนอนที่บ้าน จูงมือตนไปไหว้พระขอยาจากพระโป้เซ้งไต่เต่ รุ่งเช้าตนก็ตกใจตื่น จึงได้ลองทำตามความฝัน ผู้ป่วยจึงได้ไปที่สมาคมจ่วนเส่งเซี่ย ซึ่งมีแท่นบูชากิมซิ้นพระโป้เซ้งไต่เต่อยู่เขาได้เอาเงินจากตู้บริจาคของพระ ไปเจียดยามารักษาตัว ผ่านไปสักระยะอาการป่วยก็หายไป ซออาถ้อ จึงได้
แสดงเจตนารมณ์ไว้กับกรรมการของสมาคมจ่วนเส่งเซี่ย ว่าหากตนเองเสียชีวิต จะขอมอบที่ดินของเขาให้เป็นของพระโป้เซ้งไต่เต่ เนื้อที่ประมาณ 4 ไร่เศษ ซึ่งก็คือที่ตั้งศาลเจ้าโป้เซ้งเก็ง และโรงอบยาสมุนไพร (สูตรพระโป้เซ้ง) ในปัจจุบัน

 



9. ศาลเจ้าโป้ฮกเก็ง ปุ้นเถ่ากง วังตอ
          ที่อยู่ 43/5 ถ.วังตอ ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000 เบอร์โทรศัพท์ 0835023972


ประวัติความเป็นมา
          ศาลเจ้าโป้ฮกเก็ง ตั้งอยู่บ้านวังตอ จ.ตรัง เป็นศาลเจ้าจีนขนาดเล็ก จากคำบอกเล่าของ นายเตียวเกี้ยนอิ่น หรือ อ.เขียนอิน ฝันเซียน กล่าวว่าปู่ของท่านคือ นายเตียวเอี่ยนสู่ ชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพซึ่งเป็นผู้นำมนตร์เชิญพระต้นฉบับมาจากเมืองจีนและเคยเป็นฮวดซูประจำศาลเจ้าแห่งนี้ ในช่วงที่ยังมีชีวิตได้บอกกล่าวต่อ นายเตียวเต็กหลิว อดีตฮวดซูประจำศาลเจ้า ซึ่งเป็นบุตรชายของตนเองหรือบิดาของท่านว่า เมื่อท่านเดินทางอพยพมาถึงเมืองตรังในปีพุทธศักราช 2425 ครั้งนั้นปรากฏมีศาลเจ้าดั้งเดิมอยู่ก่อนแล้ว ศาลเจ้าจัดสร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 2414 ซึ่งก่อนหน้าจัดสร้างศาลเจ้าก็มีผู้นำมาบูชาอยู่ภายในบ้านเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ดวงจิตวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่มายังเมืองตรังจึงมีระยะเวลาต่อเนื่องนานมากกว่า 150 ปี นับเป็นศาลเจ้ารุ่นแรก 1 ในอย่างน้อย 11 แห่งของจังหวัดตรังที่มีอายุเกิน 100 ปี (ปีพุทธศักราช 2560) โดยมีชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพผู้หนึ่งล่องเรือมายังปากน้ำตรังเข้าสู่คลองน้ำเจ็ด ซึ่งสมัยก่อนลำน้ำกว้างและลึกกว่าปัจจุบันมาก ตรงจุดนี้เป็นวังน้ำลึกและมีตอไม้ขนาดใหญ่อยู่ใต้น้ำ เล็งเห็นว่าเป็นที่สงบเหมาะแก่การนั่งสมาธิบำเพ็ญจิต ชาวจีนผู้นั้นได้อัญเชิญกิมซิ้นและเถ้าธูปปุ้นเถ่ากงจากเมืองจีนที่นำติดตัวมาบูชากราบไหว้ภายในบ้าน

          ต่อมารวบรวมกำลังจัดสร้างศาลเจ้าหลังแรกเป็นอาคารขนาดเล็กก่อดินหลังคามุงจากตั้งอยู่บริเวณริมน้ำ ภายหลังจึงมีชาวบ้านบริจาคที่ดินจัดสร้างเป็นอาคารศาลเจ้าไม้พื้นดินหลังคามุงจากแล้วเปลี่ยนเป็นสังกะสี ตั้งอยู่ตำแหน่งหลังอาคารศาลเจ้าเดิม ปัจจุบันยังปรากฎมีเสาไม้ของอาคารให้เห็นอยู่ เมื่ออาคารเก่าชำรุดจึงจัดสร้างอาคารหลังที่สามก่ออิฐถือปูน ตั้งอยู่ตำแหน่งถัดมาด้านซ้ายเป็นอาคารหลังกลางในปัจจุบัน ในปีพุทธศักราช 2493 ได้ต่อเติมระเบียงศาลเจ้าด้านหน้า ภายหลังจึงก่อสร้างอาคารศาลเจ้ากวนอิมเพิ่มเติม ต่อมาในปีพุทธศักราช 2551 ได้ต่อเติมปีกอาคารศาลเจ้าหลักออกไปอีกทั้งสองข้าง สำหรับกิมซิ้นปุ้นเถ่ากงที่เห็นในปัจจุบันจัดสร้างขึ้นมาใหม่ทดแทนองค์เดิมที่ชำรุดผุพังสลายไป ความสำคัญของศาลเจ้าปุ้นเถ่ากงวังตอเป็นสถานที่พบปะศูนย์กลางของลูกหลานชาวจีนฮกเกี้ยนในเมืองตรังตั้งแต่ครั้งอดีตก่อนการจัดสร้างสมาคมฮกเกี้ยน จ.ตรัง เป็นจุดกำเนิดก่อเกิดเรืองราวความศักดิ์สิทธิ์และร่างทรงรุ่นเก่ามากมายในเมืองตรัง สำหรับความหมายของโป้ฮกเก็งคือ เป็นศาลเจ้าของปุ้นเถ่ากงที่คอยปกปักรักษาชาวจีนฮกเกี้ยนโพ้นทะเล และยังให้ความเมตตาผาสุขแด่ผู้ศรัทธากราบไหว้ทุกคน ปัจจุบันสังกัดกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ดูแลรักษาโดยชาวบ้านชุมชนวังตอและผู้นับถือศรัทธา ปุ้นเถ่ากง นับเป็นศาลเจ้าเก่าแก่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมของชาวจีนฮกเกี้ยนโบราณ เป็นศาลเจ้าปุ้นเถ่ากงของชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพแห่งเดียวในตลาดทับเที่ยง นับถือปุ้นเถ่ากงเจ้าแห่งดิน ดังคติชาวจีนโพ้นทะเล แรกเท้าเหยียบดินต้องนับถือปุ้นเถ่ากง เป็นศาสนสถานซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของลูกหลาน ชาวจีนฮกเกี้ยนในเมืองตรัง ชาวบ้านวังตอและท้องถิ่นใกล้ไกลต่อเนื่องกันมายาวนาน ยังเป็นอีก ศาสนสถานหนึ่งที่ยังคงยึดมั่นรักษาประเพณีฮกเกี้ยนโบราณมุ่งสืบทอดความศักดิ์สิทธิ์ไว้ให้ยั่งยืนนานตลอดไป

 



10. ศาลเจ้ากวนอิมเก็ง
          ที่อยู่ 51/1 ซอยสรรพากร 2 ถนนควนขนุน ต าบลทับเที่ยง อ าเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง โทร 0957310315


ประวัติโดยย่อ
          แต่เดิมอยู่ที่ถนนห้วยยอด ซอยทิพย์รัตน์ เป็นศาลเจ้าที่มีขนาดเล็กมากกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากแห่งหนึ่งของลูกหลานที่นับถือพระโพธิสัตว์กวนอิม มากราบไหว้จำนวนมาก เมื่อมีงานประจำปีที่นั่นคับแคบเกินไปจนไม่มีที่วางของไหว้สักการะบูชาและตั้งโต๊ะบูชาสวดมนต์ คณะลูกหลานและผู้มีจิตศรัทธาจึงได้หาสถานที่ใหม่ ซึ่งสร้างเสร็จภายใน 2 ปี โดยใช้ชื่อว่า “ศาลเจ้ากวนอิมเก็ง” ให้กับพระโพธิสัตว์กวนอิม เน้นการสวดมนต์ นั่งสมาธิและปฏิบัติธรรม และจัดงานประเพณีต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และยังได้เกียรติคุณศาลเจ้าดีเด่น ประจำปี 2560-2561 อีกด้วย
          ภายในมีศาลาปฏิบัติธรรม หอสวดมนต์ศรัทธาธรรม เพื่อรองรับศาสนิกชนที่มาร่วมพิธีสวดมนต์ในทุกวันเสาร์ ด้านบนประดิษฐานพระบรมสารรีริกธาตุจากสามประเทศ คือ อินเดีย ทิเบต และศรีลังกา ทั้งยังมีผงธูปศักดิ์สิทธิ์ที่อัญเชิญมาจากวัดในเกาะผู้โถวซาน (ชาวจีนถือว่าเป็นเกาะศักดิ์สิทธิ์ เป็นถิ่นกำเนิดเจ้าแม่กวนอิมและเป็นดินแดนพุทธคีรี 1 ใน 4 แห่งของจีน)